วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลักษณะและวัฒนธรรมของชาวบ้านหนองบัวบาน

ลักษณะและวัฒนธรรมของชาวบ้านหนองบัวบาน
บ้านหนองบัวบานก็คือชนบทอีสานทั่วไป ที่คนหนุ่มสาว และคนที่มีการศึกษาทิ้งถิ่นฐานไปทำงานในเมือง ปล่อยให้คนแก่เลี้ยงเด็กอยู่บ้าน ส่วนคนหนุ่มสาวที่เหลือคือคนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คนเหล่านี้มีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา ความรู้ที่จะรักษาตัวเองให้ถูกสุขลักษณะจึงมีน้อย อาชีพเกษตรกรฝากชีวิตไว้กับธรรมชาติ เกษตรกรจึงเคารพธรรมชาติว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เกษตรกรแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณด้วยการเลี้ยงผีไร่ ผีนา เชื่อว่าผีไร่ ผีนานี่เองเป็น
ที่มาทำให้เกษตรกรเจ็บป่วย
ศาสนาความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้านหนองบัวบาน
สังคมเกษตรกรรมถิ่นนี้มีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดนี้เป็นการกระทำของวิญญาณหรือผี ต้องรักษาด้วยการลำส่อง แพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่หาย ลำผีฟ้าเป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้าหรือเทวดา ที่สถิตอยู่บนท้องฟ้า เพื่อขอความเป็นลัทธิร่างทรงให้ลงมาช่วยปัดเป่าทุกข์โศก โรคภัยแก่ชาวบ้านที่มาชุมนุมในพิธี
เมื่อสมัยที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไปไม่ถึงถิ่นทุรกันดาร นอกจากการรักษาแบบพื้นบ้าน เช่น การใช้สมุนไพรที่ได้ทั้งจากพืชและสัตว์แล้ว ยังมีการรักษาเชิงจิตวิทยาอีกประเภทหนี่ง เป็นต้นว่าการไล่ผี การบนบานศาลกล่าว และ การลำผีฟ้า
จะด้วยเพราะการเซ่นไหว้หรือการรำผีฟ้าหรือไม่ ไม่มีใครทราบแน่ ต่างคนต่างคิดและเชื่อไปต่าง ๆ นานา แต่ข้อสังเกตก็คือ ตอนทำพิธีนั้นมีการรำและเล่นดนตรี หากจะลากเข้าความเรื่องดนตรีบำบัดก็คงจะได้ และการมาชุมนุมของลูกหลานและเพื่อนบ้าน มีนัยแอบแผงที่นอกจากจะมาเพราะอยากรู้อยากเห็น ยังมาด้วยความปรารถนาอยากจะให้คนเจ็บได้หายจากความทรมานและ “ลุ้น” ว่าผีฟ้านั้นจะติดต่อกับวิญญาณได้ผลอย่างไร ก็น่าจะส่งผลให้เกิดกำลังใจให้กับคนเจ็บบ้างอย่างแน่นอน ภาพที่เพื่อนบ้านเข้ามาพูดคุยปลอบโยนน่าจะมีผลให้แรงใจกับคนไข้ได้ตามสมควรที่เดียว ซึ่งก็คงเป็นผลทางจิตวิทยาได้เหมือนกัน
ในอดีตพุทธศาสนายังไม่แผ่ขยายเข้ามา ชาวอีสานเชื่องเรื่องผีอย่างมากมาย เชื่อว่าผีฟ้าหรือผีที่อยู่บนฟ้า เป็นผีที่ได้สร้างสมบรมีคุณความดีไว้มาก จึงได้ไปเกิดบนเมืองฟ้า เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่เข้ามาถึงชาวอีสาน ความเชื่อเรื่องผีที่อยู่บนฟ้าจึงมีเพิ่มขึ้น แล้วก็มีเทวดา พระอินทร์
พระพรหม แต่พิธีกรรมยังคงมีอยู่

ไม่มีความคิดเห็น: